6.8.57

แก้วค็อกเทล



      แก้วค็อกเทลที่เห็นๆก็มีอยู่หลายแบบ ส่วนมากก็จะเน้นรูปทรงที่สวยงาม  เน้นเนื้อแก้วที่ใส ดี และ เป็นประกาย  ถ้าจะแบ่งเป็น ก็แบ่งได้ 5 ประเภทด้วยกัน คือ

         1. ทัมเบลอ ( Tumbler ) หรือ แก้วทรงกระบอกธรรมดา เป็นแก้วไม่มีก้าน หรือ เชิง รูปร่างเหมือนกระบอก ข้างแก้วอาจจะตรง ผายออก คุ้มเข้า หรือ คอดก็ได้ มีขนาดและความสูงต่างๆ กัน มีอยู่หลายขนาดด้วยกัน แต่ละขนาดจะมีชื่อเรียกเฉพาะอีกด้วย

ช็อตกลาส ( Short Glass ) 
ความจุ 2 ออนซ์ 
ใช้ใส่ค็อกเทลแบบช็อต หรือ เพรียว



โอลด์แฟชั่น (Old Fashioned) หรือ ร๊อคกลาส (Rock Glass) 
ความจุ 7.1/4ออนซ์
 ใช้ใส่ค็อกเทลแบบ ออนซ์ เดอะ ร็อค



ไฮ-บอล ( High-ball ) 
ความจุ 9 ออนซ์
 ใช้ใส่ค็อกเทลแบบ Soft Drink



คอลลินส์ ( Collins ) 
ความจุ 12 ออนซ์
  ใช้ใส่ค็อกเทลตระกูล Collin's


คูลเลอร์ ( Cooler )
ความจุ 16 ออนซ์
  ใช้ใส่ค็อกเทลตระกูล Cooler


ฟิลสเนอร์ หรือ อาว กลาส ( Pilsner or Hour glass )
ความจุ 10 ออนซ์
  ใช้ใส่เบียร์



2. Stemmed glass แก้วก้าน   แก้วประเภทนี้ นอกจากจะมีส่วนตัวแก้วที่ใช้ใส่เหล้าแล้ว ยังมีก้านยาวเหมือนก้านดอกไม้ สุดก้านก็จะมีเชิงเป็นแผ่นกลม นูนเล็กน้อย เพื่อให้ตั้งได้ มีรูปร่างหลายแบบด้วยกัน เอให้ถูกกับวัตถุประสงค์ของการใช้ แต่ละรูปร่างก็กำหนดไว้เพื่อใช้สำหรับเหล้าแต่ละชนิดไป ไวน์ส่วนมากนิยมเสิร์ฟในแก้วก้าน มีรูปร่างต่างๆ กัน ดังนี้


ค๊อกเทล กลาส ( Cocktail glass )
 ความจุ 5 & frac 14; ออนซ์
  ใช้ใส่ค็อกเทลทั่วไป ที่มีปริมาณไม่มาก


 ซาวกลาส ( Sour glass )
 ความจุ 5  & frac12; ออนซ์
มีแบบก้านสั้น และ ก้านยาว
  ใช้ใส่ค็อกเทลตระกูล Sour


 มาร์การิต้า กลาส ( Margarita glass )
 ความจุ 5 ออนซ์
  ใช้ใส่ค็อกเทลตระกูล Margarita 
และแก้วที่มีขอบตกแต่งด้วยเกลือ หรือ น้ำตาลทราย


ฟลูตแชมเปญ กลาส ( Flute Champagne )
 ความจุ 6 ออนซ์
  ใช้ใส่Champagne หรือ ค็อกเทลที่เน้นความสวยหรู


ลิเคียว หรือ บรั่นดี ( Liqueur or Brandy )
 ความจุ 2 ออนซ์
ใช้ใส่เหล้าหวาน หรือ เหล้าสปิริต ทั่วไป




3. Footed Glass  หรือ  แก้วเชิง     มีลักษณะคล้ายๆกันกับแก้วก้าน เพียบแต่ก้านนั้นสั้น เพราะส่วนก้านมีความประสงค์เพื่อเป็นตัวเชื่อมส่วนตัวแก้วกับเชิงที่ตั้ง เพื่อความสวยงามของแก้วเท่านั้น มิได้ทำไว้เพื่อให้จับหรือถือแก้วตรงส่วนนั้น เหล้าผสมหรือค๊อกเทลส่วนใหญ่นิยมเสิร์ฟในแก้วเชิงนี้พอๆ กับเสิร์ฟในแก้วก้าน เช่น



เบียร์ กลาส ( Beer glass )
 ความจุ 10 ออนซ์
ใช้ใส่เบียร์ หรือ น้ำผลไม้ปั่น



เฮอริเคน กลาส ( Herricane glass )
 ความจุ 22 ออนซ์
ใช้ใส่ค็อกเทลทั่วไปที่เน้นปริมาณ



4. เหยือกเบียร์ ( Mug )    รูปร่างคล้ายกับแก้วก้านทรงกระบอกส่วนใหญ่จะหน้าและมีหูคล้ายถ้วยกาแฟ มีความจุระหว่าง 10 – 16 ออนซ์
 



 5. แก้วแฟนซี    หมายถึง แก้ว หรือ เหยือก ที่ทำรูปร่างแตกต่างจากแก้วที่กล่าวถึงแล้ว เพื่อใช้เฉพาะแห่ง อาจทำจากแก้ว หรือ เครื่องเคลือบดินเผา หรือ อื่นๆ ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเสิร์ฟค๊อกเทลบางตำรับในผลของผลไม้บางอย่างด้วย เช่น สัปปะรด / มะพร้าวอ่อน / มะพร้าวแก่ และ แตงโม เป็นต้น










Green Sea


รัม พันช์ (Rum Punch)



บี แอนด์ บี (B and B)



โกลเด้น คูลเลอร์


เพอร์โน วอเตอร์ (Pernod Water)



ด็อกส์ โนส




อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสม cocktail


เหล้าที่นิยมใช้ผสมเครื่องดื่ม cocktail


5.8.57

ค็อกเทลม็อคกีโต้



พิงค์ ซเควอเร็ล (Pink Squirral)



มิโมซ่า (Mimosa)



ไวท์ คาดิลแลค (White Cadillac)


บลัดดี้ มาเรีย (Bloody Maria)



โกลเด้น คาดิลแลค (Golden Cadillac)


ไฮ-บอลล์ (Hi-Ball)



บลู เทล ฟลาย (Blue Tail Fly)



เชอร์ลีย์ เทมเปิ้ล (Chirley Temple)



ต้นกำเนิด cocktail


ค็อกเทล (อังกฤษ: cocktail) 

คือ  เครื่องดื่มผสมที่มีเหล้า (วัตถุดิบที่มีแอลกอฮอล์) 1ชนิด หรือมากกว่าเป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มแก้วนั้น เครื่องดื่มผสมบางแก้วมีส่วนประกอบที่เป็นเหล้าเป็นส่วนประกอบชนิดเดียวหรือ บางแก้วมีส่วนประกอบที่เป็นเหล้าถึง 3-4 ชนิด ยกตัวอย่างเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของเหล้าเพียง 1 ชนิด เช่น สกูร ไดรฟเว่อร์ (SCREWDRIVER)ซึ่งมีวอดก้าที่เป็นเหล้าเป็นส่วนประกอบ บลัดดี้ แมรี่ (BLOODY -MARY) ซึ่งก็มีวอดก้าเป็นส่วนประกอบอีกเช่นกัน จิน โทนิค (Gin tonnic)มีจินที่เป็นเหล้าเป็นส่วนประกอบส่วนเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ เหล้ามากกว่า 1 ชนิด เช่น สิงคโปร์ สลิง ( singapore Sling) มี จิน เชอร์รี่ บรั่นดี คอนโทร เป็นส่วนประกอบซอมบี้(ZOMBIE) จะมีเหล้าอยู่ 3 ชนิด คือ รัมสีขาว รัมสีดำ และแอปริคอต - บรั่นดี

ต้นกำเนิดของเครื่องดื่มค็อกเทลนั้นไม่ปรากฏชัด ส่วนการผสมเครื่องดื่มแบบนี้มีมาแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ในประเทศฝรั่งเศส โดยใช้เบียร์ เหล้าน้ำผึ้ง เป็นหลักแล้วจึงนำมาผสมกับเหล้าที่ใส่เครื่องเทศ และมีพัฒนาการไปใช้ ไวน์ เหล้า เครื่องเทศ น้ำตาล น้ำผลไม้ผสมกัน โดยชาวฝรั่งเศสเรียกว่า coquetel (คอเกอเตล) ประมาณปี พ.ศ. 2318 ถึง พ.ศ. 2326 ทหารฝรั่งเศสเดินทางไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามกับประเทศอังกฤษและทหารฝรั่งเศสได้ผสมเครื่องดื่มแบบนี้ดื่มกันและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหมู่ทหารของสหรัฐอเมริกา แม้สงครามจะหยุดลงแล้วความชื่นชอบในเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ยังคงอยู่ และแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนการเรียกขานชื่อคาดว่าเพี้ยนมาจากคำว่า coquetel (คอเกอเตล) ในภาษาฝรั่งเศส


  คำว่า “ค็อกเทล” (COCKTAIL) เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องดื่มผสมนับเป็นเวลายาวนานใน ค.ศ. 1776

ในบาร์แห่งหนึ่งที่ นิวยอร์ก มีสุภาพสตรีผู้หนึ่งได้ตกแต่งและประดับบาร์ของเธอด้วยหางขนไก่ สีสันสวยงามเต็มร้านและเธอยังมีความคิดแปลกที่ไม่เหมือนใคร โดยได้ใส่หางขนไก่ (COCKTAIL) ลงในเครื่องดื่มผสมทุกแก้ว แทนไม้คนบาร์ทั่วไป ไม่ช้าร้านของเธอก็เป็นที่นิยมของนักราตรี และคำว่า “ค็อกเทล” ก็เริ่มจากที่นี่



 



เอล เพอร์ซิดอง (El Persidente)


ตากีลา โรเซ่ (Taquila Rose)


ฮาร์วี่ วอลล์ แบงเจอร์ (Harvey Wall Banger)




เคียร์ (Kir)




ซานฟรานซิสโก (Sanfrancisco)




แอปเปิ้ล มาร์ตินี่




ไคพิรอสก้า




สเมอร์นอฟ แบล็ค ดราย มาร์ตินี่



สเมอร์นอฟ มิว



สิงคโปร์ สลิง (Singapore Sling)




วิมเลท (Vimlet)




วอดก้า กิ๊ปสัน (Vodka Gibson)




Flamming Sunset




บลู โฮโน ลูลู (Blue Hono Lulu)